วิทยากร : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช
ผู้ช่วยวิทยากร : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเข้าอบรม ประวัติโดยย่อของผู้เข้าร่วมอบรม
หลักการและเหตุผล
ด้วยในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทและความสำคัญในด้านการจัดเก็บข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ ระบบสารสนเทศช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลและการสืบค้นสะดวกและรวดเร็ว การสร้างและพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อจัดเก็บข้อมูลและผลงานส่วนบุคคลด้วย WordPress ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปที่เรียกว่า CMS (content management system) ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซด์หรือจัดทำบล็อกสามารถที่จะบริหารจัดการระบบ การปรับแต่ง การใส่ข้อมูล การแก้ไขข้อมูลได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บบล็อกหรือเว็บไซต์ที่ไม่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม เพื่อสร้างเว็บไซต์ของหน่วยงาน เว็บบล็อกส่วนตัว การเขียนเรื่องราว ไดอารี ฯลฯ ซึ่ง WordPress มีระบบที่ช่วยจัดการเนื้อหา อีกทั้งยังสามารถแก้ไข/ปรับเปลี่ยน หน้าตาของเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็ว สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจึงมีแนวความคิดที่จะสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรด้านพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำ portfolio ให้สามารถนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการพัฒนา บริหาร และจัดการข้อมูล portfolio หรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ ของหน่วยงานหรือบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในทิศทางเดียวกัน
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ค่าเป้าหมาย |
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาเว็บบล็อก การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและสืบค้นได้รวดเร็ว | 1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนาเว็บบล็อคและจัดเก็บข้อมูลได้ | ร้อยละ | 80 |
2. เพื่อเรียนรู้หลักการพัฒนาเว็บบล็อก | 2. แบบสอบถาม | ร้อยละ | 80 |
3. ยกระดับและเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สำคัญสำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ | 3. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนที่เกี่ยวข้องได้ | ร้อยละ | 80 |
วัน/เดือน/ปี | เวลา | กิจกรรม |
14 ธันวาคม 2558 | 09.00-12.00 น. | o ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับ WordPress
o การสมัครสมาชิกเพื่อสร้างเว็บออนไลน์จริง o การล็อกอินเข้าหน้าควบคุม o การเข้าใช้งานเว็บบล็อก |
13.00-16.00 น. | o ภาพรวมและองค์ประกอบภายในหน้า Control Panel ของ WordPress ในส่วนของผู้ควบคุม
o การตั้งค่าเว็บสำหรับผู้ควบคุมเว็บ (administrator) ประกอบไปด้วยการตั้งค่า ทั่วไป การเขียน การอ่าน สนทนา ไฟล์สื่อ Sharing o การวิเคราะห์โครงสร้างเว็บและโครงสร้างหน้าเว็บก่อนการทำเว็บไซต์การสร้างหมวดหมู่ของเรื่อง |
|
15 ธันวาคม 2558 | 09.00-12.00 น. | o การติดตั้งและใช้งาน Program XnView เพื่อปรับคุณสมบัติของไฟล์ภาพก่อนนำขึ้นเว็บ
o การเขียนเรื่องการเขียน |
13.00-16.00 น. | o การเขียนหน้า
o การใส่ไฟล์รูปลงในหน้าและเรื่อง o การสร้าง Link จากเมนู Link o การสร้างเมนูจาก หมวดหมู่ หน้า และปรับแต่งลิงก์ |
|
16 ธันวาคม 2558 | 09.00-12.00 น. | o การติดตั้ง Theme และตั้งค่าการใช้งาน Theme
o การตั้งค่าการแสดงผล Theme o การปรับแต่งวิดเจ็ตเพื่อการแสดงผลใน Theme o จัดการความคิดเห็นในเว็บ |
13.00-16.00 น. |
o Workshop o นำเสนอผลงานเว็บไซต์ส่วนบุคคล |
วิทยากร : างสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช
ผู้ช่วยวิทยากร : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเข้าอบรม ข้อมูลที่ต้องการสร้าง Infographice ของหน่วยงานที่ผู้เข้าอบรมสังกัด
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้คำว่า อินโฟกราฟิก (Infographic) เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเว็บเครือข่ายสังคมและสื่อสาธารณะทั่วไป Infographic หรือ Information Graphic เป็นการใช้ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข เป็นต้น โดยนับเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายขึ้นภายในภาพเดียว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคปัจจุบันที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด อินโฟกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้จัดการกับ ข้อมูล ตัวเลขและตัวอักษรที่มากมาย แล้วสื่อออกมาในรูปแบบกราฟิกที่สวยงานและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
การทำอินโฟกราฟิกนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้นักออกแบบได้โชว์ทักษะด้านการสื่อสารกันแบบเต็มที่ เพราะอันที่จริงแล้ว การแปลงข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพก็เป็นสิ่งที่คนทำกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด กราฟิก กราฟรูปทรงต่างๆ ตาราง แผนที่ แผนผัง หรือไดอะแกรม แต่ทักษะทางด้านอินโฟกราฟิกนั้นจำเป็นต้องจัดระเบียบข้อมูลที่ทั้งมากและหลากหลายให้จบได้ในภาพเดียว
สื่อในรูปแบบอินโฟกราฟิกในองค์กรด้านการศึกษา ถูกนำมาใช้ทั้งในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กร ในระดับมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นการรับสมัครนักศึกษา การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัยและการแสดงข้อมูลภายในองค์กรทั้งในด้านจำนวนบุคลากรและจำนวนนักศึกษา เพื่อง่ายต่อการเข้าใจและจดจำข้อมูล และการนำสื่อในรูปแบบอินโฟกราฟิกมาใช้ในระดับคณะและสาขาวิชาประจำคณะและที่สำคัญการนำสื่ออินโฟกราฟิกมาใช้ในกิจกรรมการเรียน การสอน เพื่อช่วยทำให้เนื้อหาในการสอนมีความน่าสนใจและช่วยในการบรรยายเนื้อหาการสอนได้เป็นอย่างดี
แต่การจะออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ออกแบบสื่อต้องมีความเข้าใจด้านการจัดการข้อมูล การสรุปเนื้อหาและทักษะด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ภาพ ภาพสัญลักษณ์ สีและตัวอักษร การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การออกแบบสื่อ Infographic เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กรจะสามารถเพิ่มทักษะสำหรับอาจารย์และบุคลากรที่สนใจในการผลิตสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อประยุกต์ด้านการสอนและการนำไปใช้ออกแบบสื่อสำหรับให้ข้อมูลขององค์กรต่อไป
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ค่าเป้าหมาย |
1.เพื่อเรียนรู้หลักการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก | 1. แบบสอบถาม | ร้อยละ | 80 |
2.เพื่อการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสำหรับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กร | 2. ทักษะการปฏิบัติการออกแบบ | ร้อยละ | 80 |
วัน/เดือน/ปี | เวลา | กิจกรรม |
21 ธันวาคม 2558 | 09.00-12.00 น. | o บรรยายหัวข้อ ความสำคัญของสื่ออินโฟกราฟิก ต่อการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กรและแนวคิดและกระบวนการในการสร้าง อินโฟกราฟิก |
13.00-16.00 น. | o ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม Adobe Illustrator เพื่อการทำอินโฟกราฟิก
o ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม Adobe Illustrator เพื่อการทำอินโฟกราฟิก |
|
22 ธันวาคม 2558 | 09.00-12.00 น. | o ฝึกปฏิบัติการใช้ภาพ ภาพสัญลักษณ์ สีและตัวอักษรเพื่อการทำอินโฟกราฟิก |
13.00-16.00 น. | o Workshop 1: การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลมหาวิทยาลัย | |
23 ธันวาคม 2558 | 09.00-12.00 น. | o Workshop 2: การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กร ในรูปแบบการแสดงข้อมูลสถิติต่างๆ (โจทย์ตามเนื้อหาของผู้เข้าอบรม) |
13.00-16.00 น. | o Workshop 2: การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กร (โจทย์ตามเนื้อหาของผู้เข้าอบรม) |
o สรุปงานและนำเสนอผลงานเพื่อแนะนำข้อเสนอแนะในการออกแบบสื่อ
อินโฟกราฟิก
วิทยากร : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช
ผู้ช่วยวิทยากร : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเข้าอบรม ข้อมูลแบบสอบถามที่ต้องการสร้าง
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเว็บเครือข่ายสังคมและสื่อสาธารณะทั่วไป เพื่อนำเสนอข้อมูล จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ที่ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทรัพยากรขององค์กรในการลดใช้กระดาษ Google Docs เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการไฟล์เอกสารต่าง ๆ ที่สามารถแบ่งปันข้อมูลให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ Google Docs เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน การนำ Google Docs ใช้เพื่อการสร้างแบบสอบถามออนไลน์เพื่อจัดเก็บข้อมูลค่าต่าง ๆ เช่น ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ แบบสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ หรือการสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งมีเครื่องมือในการสร้างแบบสอบถามที่ครอบคลุมตรงตามความต้องการของผู้สร้างแบบสอบถาม เช่น การสร้างแบบสอบถามแบบเติมคำในช่องว่าง การสร้างแบบสอบถามแบบเลือกตอบเป็นต้น นอกจาก Google Docs จะสร้างแบบสอบถามได้หลากหลายแล้วก็ยังมีการจัดเก็บข้อมูลค่าสถิติของการตอบแบบสอบถามที่สามารถแสดงผลในรูปแบบของหน้าเว็บไซต์ได้ หรือจะนำค่าดังกล่าวมาจัดทำสถิติออกมาใช้ซึ่ง Google Docs สามารถส่งออกไฟล์ในรูปแบบ DOCS, XLS, CSV, ODS, ODT, PDF, RTF และ HTML ได้ ดังนั้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการในการดำเนินงานขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก้ผู้รับบริการ และประหยัดทรัพยากรขององค์กรหลักสูตรกการพัฒนาแบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Docs นี้สามารถเพิ่มทักษะสำหรับอาจารย์และบุคลากรที่สนใจในการผลิตแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อประยุกต์ด้านการสอนและการนำไปใช้สำหรับการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรต่อไป
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ค่าเป้าหมาย |
1.เพื่อเรียนรู้หลักการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Docs | 1. แบบสอบถาม | ร้อยละ | 80 |
2.เพื่อสร้างแบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Docs | 2. ทักษะการปฏิบัติการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ | ร้อยละ | 80 |
วัน/เดือน/ปี | เวลา | กิจกรรม |
18 ธันวาคม 2558 | 09.00-12.00 น. | o รู้จักกับ Google Docs
o เตรียมการใช้งาน Google Docs o การสร้างแบบสอบถามด้วยรูปแบบต่าง ๆ |
13.00-16.00 น. | o การนำแบบสอบถามไปใช้งานจริง
o การเข้าดูข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม o การจัดการฟอร์ม o การนำผลการประเมินแบบสอบถาม วิเคราะห์ค่าสถิติ |
หลักสูตร เทคนิคการสร้างงานนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013
วิทยากร : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช (วิทยากรภายใน)
ผู้ช่วยวิทยากร : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี (ผู้ช่วยวิทยากร)
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเข้าอบรม หัวข้อสำหรับการสร้างงานนำเสนอของตนเองที่ท่านต้องการสร้างจริง
หลักการและเหตุผล
การนำเสนอข้อมูลมีหลากหลายประเภท เช่น การนำเสนอผลงาน นำเสนอโครงการ การนำเสนอข้อมูลทางสถิติ เป็นต้น เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ สามารถกระตุ้นความสนใจให้กับผู้ฟัง หรือผู้ดูงานนำเสนอ ผู้สร้างงานนำเสนอ หรือผู้บรรยายต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการถ่ายทอดให้กับผู้ฟังได้อย่างครบถ้วน มีแนวคิดที่มีการรวบรวมข้อมูลและสร้างสื่อในการนำเสนอ ได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น หลักสูตรนี้เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลสร้างงานนำเสนอ หลักการสร้างงานนำเสนออย่างไรที่กระตุ้นความสนใจให้กับผู้ฟัง และการออกแบบงานนำเสนอในรูปแบบ Theme ที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างอัตราลักษณ์ หรือจุดเด่นของงานนำเสนอหรือองค์กรอีกทั้งที่มุ่งเน้นทักษะการนำเสนอ และการสร้างงานนำเสนอแบบมืออาชีพ สร้างความมั่นใจในการนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ค่าเป้าหมาย |
1.เพื่อเรียนรู้เทคนิคการสร้างงานนำเสนอและการนำเสนอผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ | 1. แบบสอบถาม | ร้อยละ | 80 |
2.เพื่อสร้างงานนำเสนอและการนำเสนอผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ | 2. ทักษะปฏิบัติการสร้างงานนำเสนอและการนำเสนอ | ร้อยละ | 80 |
วัน/เดือน/ปี | เวลา | กิจกรรม |
14 มกราคม 2559 | 09.00-12.00 น. | o องค์ประกอบหลักของการนำเสนอ
o ปัญหาที่พบในการนำเสนอ o กระบวนการนำเสนอ (Presentation Process) o แนวทางการจัดทำ PowerPoint Presentation o ข้อควรระวัง เมื่อนำเสนอผลงาน o การสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013 |
13.00-16.00 น. | o การออกแบบและสร้างแม่แบบ (Template) เพื่อใช้กับงานนำเสนอ
o การบันทึกเสียงลงและแทรกไฟล์เสียงลงในงานนำเสนอ o การแทรก Video ลงในงานนำเสนอ o การกำหนดลูกเล่นในงานนำเสนอ |
|
15 มกราคม 2559 | 09.00-12.00 น. | o Workshop |
13.00-16.00 น. | o Workshop
o นำเสนอผลงานนำเสนอของผู้เข้าอบรม |
วิทยากร : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช
ผู้ช่วยวิทยากร : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี
หลักการและเหตุผล
การสร้างงานออกแบบที่ดีต้องสร้างความสนใจให้กับผู้ที่พบเห็นได้ สามารถสื่อสารสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องการจะสื่อความหมายได้ให้กลุ่มเป้าหมายได้ Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย ที่ช่วยให้ภาพมีความสวยงามขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับไอเดียและความชำนาญของผู้ออกแบบด้วย ผู้ที่เหมาะสมที่จะใช้ Adobe Photoshop ไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักออกแบบเท่านั้น เพราะทุก ๆ งานที่ต้องการคุณภาพของภาพที่เพิ่มจุดเด่นและความสวยงาม ก็สามารถที่จะให้โปรแกรมนี้สำหรับการออกแบบเพื่อให้ภาพของคุณสร้างความประทับใจสำหรับผู้พบเห็นได้ เช่นนำภาพที่ถ่ายมารีทัชปรับแต่งสีแล้วนำไปใช้สำหรับใส่ใน PowerPoint เพื่อสร้างงานนำเสนอ ก็จะทำให้การนำเสนอของคุณดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ดังนั้นหากคุณมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในด้านการรีทัชและตกแต่งภาพ คุณก็สามารถที่จะเข้าอบรมในหลักสูตรนี้ได้ หลักสูตรนี้จะเริ่มปูพื้นฐานเบื้องต้นร่วมไปถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานออกแบบได้
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ค่าเป้าหมาย |
1.เพื่อเรียนรู้เทคนิคการใช้งาน Adobe Photoshop | 1. แบบสอบถาม | ร้อยละ | 80 |
2.เพื่อสร้างปรับแต่งภาพถ่ายเพื่อใช้ในงานออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 2. ทักษะปฏิบัติการรีทัชภาพ การประยุกต์ใช้ภาพในงานออกแบบ | ร้อยละ | 80 |
วัน/เดือน/ปี | เวลา | กิจกรรม |
20 มกราคม 2559 | 09.00-12.00 น. | o ความรู้เบื้องต้นในการออกแบบ
o แนะนำ Tools ใหม่ของ Photoshop CS6 o การทำงานใน Layer |
13.00-16.00 น. | o เทคนิคตกแต่งสีและความสว่างให้ภาพสวย
o เทคนิคการเลือกพื้นที่ภาพบนภาพ |
|
21 มกราคม 2559 | 09.00-12.00 น. | o เทคนิคการแยกวัตถุออกจากพื้นหลัง
o เทคนิคการปรับแต่งรูปทรงภาพ o เทคนิคการรีทัชและปรับปรุงภาพถ่าย |
13.00-16.00 น. | o การสร้างไฟล์สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์
o การสร้างไฟล์สำหรับงานพิมพ์ |
|
22 มกราคม 2559 | 09.00-12.00 น. | o Workshop การออกแบบ Poster เพื่อการประชา |
13.00-16.00 น. | o Workshop การออกแบบ Poster เพื่อการประชา
o นำเสนอผลงานการออกแบบ |